พูดถึงศิลปะการต่อสู้ของไทย แน่นอนว่าหนีไม่พ้น “มวยไทย”
เริ่มตั้งแต่ยุคสุโขทัย โดยมวยไทยถูกบรรจุอยู่ในการศึกษาของกษัตริย์
เพื่อเตรียมความพร้อมและฝึกความกล้าหาญในการออกรบ โดยมีหอก โล่ กระบอง และดาบเป็นอาวุธ
ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ศิลปะการต่อสู้มวยไทย กระจายไปยังชาวบ้าน
เพื่อให้ชาวบ้านได้มีทักษะในการต่อสู้หรือป้องกันตัวด้วยมือเปล่า
ใครที่มีฝีไม้ลายมือที่โดนเด่น จะถูกคัดมาเป็นทหารสนิท หรือทหารรักษาพระองค์
ในสมัยกรุงธนบุรีบ้านเมืองอยู่ในยุคฟื้นฟูจากสงครามโลก การฝึกมวยเป็นการฝึกเพื่อออกรบโดยเฉพาะ
มีการแข่งขันกันระหว่างศิษย์ต่างครู แต่ยังไม่มีกติกามวยที่แน่ชัด
มวยไทยในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นยุคทองของมวยไทย มวยไทยได้กลายมาเป็นกีฬาและศิลปะป้องกันตัว
โดยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดกีฬามวยไทยเป็นอย่างมาก จึงจัดให้มีการแข่งขันชกมวยขึ้น
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีมวยหลวงตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ฝึกสอน จัดการแข่งขัน และควบคุมการแข่งขันมวยไทย
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มวยไทยเป็นวิชาหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนครูฝึกหัดพลศึกษา และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
จะเห็นได้ว่ามวยไทยเป็นศาสตร์ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีการแบ่งสายตามท้องถิ่น มีสายสำคัญหลัก เช่น มวยท่าเสา (ภาคเหนือ) มวยโคราช (ภาคอีสาน) มวยไชยา (ภาคใต้) มวยลพบุรีและมวยพระนคร (ภาคกลาง) มีการตั้งกฎการแข่งขันและระเบียบการชกที่ชัดเจนมากกว่าในสมัยกรุงธนบุรี
นับว่ามวยไทยเป็นศาสตร์การต่อสู้ การป้องกันตัว และกีฬาที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน ควรค่าแก่การรักษาไว้ให้ดำรงอยู่สืบไป